บทคัดย่อ :
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และความพึงพอใจในการเรียน
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก
ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1).ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย สาระการเรียนรู้วรรณคดีและวรรณกรรม ของนักเรียน ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง และ 2). ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สถานการณ์จำลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก จำนวน 31 คน ใช้เวลา 12 คาบ คาบละ 50 นาที จำนวน 4 สัปดาห์ๆละ 3 คาบ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1). แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง 2). แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้เรื่องพระบรมราโชวาท 3). แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ( )
ผลการวิจัย พบว่า
1. นักเรียนที่เรียนวิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้เรื่องพระบรมราโชวาท โดยใช้สถานการณ์จำลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยนักเรียนมีผลคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 2.67 และคะแนนหลังเรียน 8.51
2. นักเรียนที่เรียนวิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้เรื่องพระบรมราโชวาท โดยใช้สถานการณ์จำลองมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 69.28
A STUDY OF LEARNING ACHIEVEMENT AND ATTITUED ON THAI LEARNING GROUP
OF NINE GRADE STUDENTS AT NUANNORRADIT WITTAYAKOM
RACHAMUNGKALAPHISEK SCHOOL OF USING SIMULATION
Abstract
The purposes of this research were 1). to study the Nine grade students’ learning achievement by Simulation. 2). to study students’ Complacency about Simulation. The samples were Nine grade students of Nuannorradit Wittayakom Rachamungkalaphisek school, Bangkok province. The 31 students of experimental group were taught by the Simulation learning method for 12 periods 50 minute each, covering 4 weeks, during the second semester within the academic year 2012. The experimental group met the teacher 3 periods per week.
The instruments employed to collect data were 1). lesson plans constructed Literature of ‘the Simulation technique 2). an achievement test of learning, and 3). the evaluation form of Nine grade students’ Complacency. The collected data were analyzed by the statistical means of mean ( ), standard deviation (S.D.).
The findings were as follows:
1) The students' posttest Literature scores, after learning by Simulation, were significantly higher than that of the pretest. By the point average posttest be equal to 8.51 and the point average pretest be equal to 2.67.
2) The students' Complacency about Simulation,after learning by the Simulation, were high level be equal to 69.28.
|